วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

Interlaced Scan และ Progressive Scan ต่างกันอย่างไร

บทความนี้นอกจากขยายความเกี่ยวกับระบบโทรทัศน์แล้ว ยังเป็นประโยชน์สำหรับคนทำงาน Video ด้วย
เพราะมันจะช่วยให้เราเข้าใจว่า
1.ทำไมภาพ Video บางตัวเป็นฟันหวีเมื่อย่อ-ขยาย Pan/Crop
2.ทำไมภาพ Video จึงสั่น เมื่อมีเคลื่อนไหวเร็วๆ

อยากให้ลองอ่านบทความนี้ก่อนครับ แล้วจะมาไขปัญหา และวิธีการแก้ไขทั้ง 2 ข้อข้างต้น

คัดลอกบางส่วนจาก http://www.lcdtvthailand.com/article/detail.asp?param_id=50

Interlaced Scan VS Progressive Scan


i = Interlaced Scan เป้นการสแกนภาพแบบเส้นเว้นเส้น  ยกตัวอย่างเช่น ทีวีมีความละเอียด 1080 เส้นในแนวนอน ทีวีก็จะสแกนเส้นเลขคี่ก่อนก็คือเส้นที่ 1,3,5,7,9,.....,จนถึงเส้นสุดท้ายของเลขคี่ซึ่งก็คือเส้นที่ 1079 (รวมเป็น Field 1) แล้วค่อยกลับมาสแกนเส้นเลขคู่ก็คือ 2,4,6,8,10,......,จนถึงเส้น1080  ครับ (รวมเป็น Filed 2) เรียกง่ายๆคือการสแกนแบบฟันปลานั่นเอง

เสร็จแล้วก็เอาผลสแกนครั้งแรกซึ่งเป็นเลขคี่ (Field 1) และผลสแกนครั้งที่ 2 ซึ่งเป้นเลขคู่ (Field 2) มารวมล่างกันเป็น 1 Frame ผลลัพธ์ที่ตามมาคือภาพจะมีรอยหยักตามขอบภาพและมีการกระพริบตามขอบภาพเช่นพวกขอบโลโก้ช่องต่างๆ เนื่องจากสแกนเส้นเว้นเส้น




p = Progressive Scan คือการสแกนภาพตั้งแต่เส้นที่ 1,2,3,4,....., ไปจนถึงเส้นสุดท้ายที่เส้น 1080 เป็นการสแกนบนลงล่างทีเดียวจบเลย เพราะฉะนั้นภาพที่ได้จะเนียนกว่าครับ

สรุป p ดีกว่า i ครับ นั้นหมายความว่า 1080p ภาพดีกว่า 1080i

เครื่องเล่น DVD รุ่นเก่าๆยังไม่มี Progressive Scan ครับ รวมถึงทีวีรุ่นเก่าๆด้วยครับที่ไม่รองรับ Progressive Scan

แต่ในปัจจุบันเครื่องเล่น DVD มี Progressive Scan ทั้งหมดแล้ว และ Plasma TV & LCD TV รุ่นปัจจุบันทั้งหมดรองรับ Progressive Scan ครับ

เพราะฉะนั้นตามหลักการแล้ว ถ้าเราเล่นเครื่องเล่น DVD ที่มี HDMI ให้ปรับการอัพสเกลสัญญาณไปที่ 1080p ภาพจะดีที่สุด

ตามเครื่องเล่น AV Reciever หลายๆยี่ห้อก็จะมีชิพตัวขจัดรอยหยักของภาพ ยกตัวอย่างเช่น DCDi (Directional Correlational De-Interlacing) ของ Faroudja ที่ทำให้ภาพแบบ i ใกล้เคียงหรือเทียบเท่าแบบ p ได้เลยครับ ในอดีตค่ายทีวีต่างๆใช้ชิพ DCDi ใส่ให้ทั้ง Plasma TV และ LCD TV ด้วยนะครับ แต่ปัจจุบันแทบไม่มีให้เห็นแล้ว

เพิ่มเติมความรู้ให้เล็กน้อยครับ ที่ต่างประเทศอย่างเกาหลีใต้และอเมริกาจะส่งสัญญาณเป็น Digitalแบบ HD นะครับ ส่วนใหญ่จะใช้เป็น 1080i ซึ่งจัดได้ว่าชัดมากแล้วครับ แต่ยังไม่สามารถทำเป็น 1080p ได้อย่างแพร่หลายครับ เนื่องจาก 1080p มันกิน Bandwith เยอะมากครับ 1080i เลยเป็นมาตรฐานสัญญาณภาพของประเทศเหล่านี้ไป โดยหวังว่าในอนาคตประเทศไทย จะมีโอกาสส่งสัญญาณ HD แบบ Digital แบบเค้าบ้างนะครับ  เจ๋ง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 พฤศจิกายน 2009, 10:58:50 โดย Flintstone » บันทึกการเข้า
Flintstone
Administrator
เทพเวกัส
*****

การ์ม่า: +20/-4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 804


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 พฤศจิกายน 2009, 11:59:07 »

1.ทำไมภาพ Video บางตัวเป็นฟันหวีเมื่อย่อ-ขยาย Pan/Crop
2.ทำไมภาพ Video จึงสั่น เมื่อมีเคลื่อนไหวเร็วๆ


เพราะการสแกนภาพบนจอ ภาพ 1 ภาพ มี Field อยู่ 2 Field ซ้อนกันอยู่ จำนวนเส้นของการสแกนแนวนอนต่อพื้นที่มันตายตัวอยู่แล้ว เช่น 576
ทีนี้เราเอา Video มาย่อ ขยาย แล้วมีผลต่อสัดส่วนภาพแนวตั้ง การสแกน วาดลงบนจอยังใช้สัดส่วนการทำงานเท่าเดิมนี่นา
มันก็เลยเกิดการเหลื่อมล้ำของภาพเกิดขึ้น เพราะมันเหมือนมีเส้นสแกน แต่สัดส่วนจำนวนเส้นบนภาพ กับบนจอมันไม่เท่ากัน
เวลา Playback มันก็เลยเป็นริ้วๆ คลื่นๆ ซะงั้น
หรือกรณีกลับ Field กันก็เคยมี ปกติ Pal DV จะเป็น Lower Field First แต่ไปวางที่ Project ที่ตั้งเป็น Upper Field First ผลก็คือลำดับการแสดงผล
Field ของภาพ แสดงผลสลับกัน เหมือนกับการทำภาพต่อเนื่อง ถ้าเรียงลำดับผิด มันก็จะสั่น เช่นปกติ ภาพเรียง 1 2 3 4 5 6 7 8 แต่พอสลับกัน
มันก็เรียงแบบ 2 1 4 3 6 5 8 7 ผลที่ได้ก็คือ ภาพสั่น เต้นเลยล่ะ

แล้วจะแก้ปัญหายังงัยดี
ลองมาดูวิธีที่ 1 ก่อนครับ ผมใช้วิธีตั้ง Project เป็น Progressive 
หมายเหตุ วิธีนี้ไม่เหมาะกับการ Print to Tape ครับ แต่ผมทำ DVD และ Present บน Comp. ซึ่งส่วนใหญ่ฉายบนจอ LCD Projector

ดูข้อมูล Field จากภาพครับ แสดงอยู่ใน Project Media




ดูภาพบนจอ เดิมๆ ที่ไม่ได้แก้ไข Project ครับ


Field order: ตั้งไว้ที่ Lower field first
ด้านล่าง Deinterlace method: เลือกไว้ที่ None ค่านี้เหมาะสมกับงานที่ Output เป็นเทป DV ครับ





ลองเปลี่ยนค่า Field order: เป็น None (Progressive scan) โดย Deinterlace method: ยังไม่เปลี่ยน
ภาพก็ยังเหมือนเดิมครับ เวลา Render แล้วเล่นกับจอ LCD มันก็เป็นเส้นๆเลย




เปลี่ยน Deinterlace method: เป็น Blend fields
กรณีเลือกแบบนี้ Field ในแต่ละ Frame จะ Blend เข้าหากัน ภาพที่ได้จะมีความนุ่มนวล แต่อาจจะไม่คมชัด




สุดท้ายลองปรับ Deinterlace method: เป็น Interpolate fields ครับ
ภาพที่ได้จะคมชัดที่สุด เพราะตัด Field ไป 1 Field ดังนั้นแต่ละ Frame เดิมมี 2 Fields ก็จะหายไป 1 Field ครับ
ผลที่เกิดขึ้น ภาพจะคมชัด แต่การเคลื่อนไหวเร็วๆ จะขาดความนุ่มนวล อารมณ์ประมาณหนังฟิล์มเลยล่ะ
ผมชอบใช้แบบนี้ที่สุด เพราะไม่ต้องกังวลกับภาพสั่น ภาพเต้น แล้วยังคมชัดกว่าเมื่อทำ DVD หรือจะเล่นบนคอมพ์ก็ตาม





อย่างไรก็ตาม นี่เป็นทางแก้ปัญหาทางหนึ่งเท่านั้น หากปลายทางยังต้องใช้เครื่อง DVD ต่อกับ TV รุ่นเก่า ภาพบนจออาจจะมีสั่นเล็กน้อย
โดยเฉพาะภาพนิ่งๆ ที่มีเส้นแนวนอนแบบคมๆ เส้นตรงนั้นจะสั่น เพราะมันสแกนแบบ Interlace แต่งานเราเป็น Progressive ครับ

ยิ้มกว้างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น